เมนู

แล้ว ย่อมเป็นของปฏิกูลนั่นแหละ ฉันใด แม้ผมทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เมื่อ
ว่าโดยสี และสัณฐาน ไม่พึงเป็นของปฏิกูลก็ได้ แต่เมื่อว่าโดยกลิ่นแล้ว ย่อม
เป็นของปฏิกูลแท้.
ก็ผักสำหรับแกงอันเกิดขึ้นในที่อันไม่สะอาด ด้วยการหลั่งไหลไปแห่ง
น้ำคร่ำจากหมู่บ้าน ย่อมเป็นของน่ารังเกียจ ไม่น่าบริโภคสำหรับชนชาวนคร
ทั้งหลาย ฉันใด แม้ผมทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ชื่อว่า น่ารังเกียจยิ่งนัก เพราะ
เกิดขึ้นด้วยน้ำที่ไหลซึมออกมาจากน้ำเหลือง เลือด น้ำอุจจาระ น้ำ
ปัสสาวะ น้ำดี และเสมหะเป็นต้น
นี้เป็นปฏิกูลแห่งผมเหล่านั้น โดย
อาสยะ (โดยอาศัย).
อนึ่ง ผมเหล่านี้ เกิดขึ้นที่กองแห่งโกฏฐาส 31 (อันไม่สะอาด) ดุจ
ผักหญ้าเกิดขึ้นที่กองแห่งคูถ ผมเหล่านั้น ชื่อว่า น่ารังเกียจอย่างยิ่ง เพราะ
เกิดในที่อันไม่สะอาด ดุจผักที่เกิดขึ้นในที่ป่าช้าและกองขยะเป็นต้น และดุจ
ดอกไม้มีบัวหลวงบัวสายเป็นต้น ที่เกิดขึ้นในที่ไม่สะอาดมีคูเมืองเป็นต้น นี้
เป็นความปฏิกูลแห่งผมเหล่านั้นโดยโอกาส (คือ ที่ตั้งอยู่). ก็ความเป็นปฏิกูล
แห่งผมทั้งหลาย ฉันใด พึงกำหนดความเป็นปฏิกูลแห่งโกฏฐาสทังปวง 5 อย่าง
ด้วยสามารถแห่งความปฏิกูล โดยสี สัณฐาน กลิ่น อาสยะ และโอกาส
ฉันนั้นเถิด. แต่ว่า เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และปริจเฉท แม้
ในโกฏฐาสทั้งปวง พึงกำหนดแต่ละแผนก.

2. โลมา (ขนทั้งหลาย)


บรรดาโกฏฐาสเหล่านั้น พึงกำหนดขนทั้งหลายก่อน ว่าโดยสีตาม
ปกติ ไม่ดำสนิทเหมือนผม แต่เป็นสีดำปนเหลือง โดยสัณฐาน มีสัณฐาน

ปลายโค้ง เหมือนรากต้นตาล โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง 2 โดยโอกาส เว้น
โอกาสที่ผมทั้งหลายตั้งอยู่ และพื้นฝ่ามือ ฝ่าเท้าแล้ว โดยมากเกิดตามหนังหุ้ม
สรีระที่เหลือ โดยปริจเฉท เบื้องล่างกำหนดด้วยพื้นรากของขนที่หยั่งลึกเข้า
ไปในหนังหุ้มสรีระประมาณลิกขา1 หนึ่ง เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศ โดยรอบ
กำหนดเส้นขนด้วยกัน การกำหนด ขนสองเส้นมิได้รวมเป็นเส้นเดียว นี้เป็น
สภาคปริจเฉทแห่งขนเหล่านั้น ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับเส้นผมนั่นแหละ.

3. นขา (เล็บทั้งหลาย)


คำว่า นขา เป็นชื่อของใบเล็บ 20 อัน เล็บทั้งปวงนั้น ว่าโดยสี
เป็นสีขาว ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังเกล็ดปลา. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้ง
2 คือ เล็บเท้าเกิดในทิศเบื้องต่ำ เล็บมือเกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส
ตั้งอยู่เฉพาะที่หลังตอนปลายนิ้วทั้งหลาย. ว่าโดยปริจเฉท ในทิศทั้ง 2 กำหนด
ด้วยเนื้อปลายนิ้ว ข้างในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ข้างนอกและปลายกำหนด
ด้วยอากาศ เบื้องขวางกำหนดเล็บด้วยกัน. การกำหนดว่า เล็บ 2 อัน มิได้
รวมเป็นอันเดียวกัน นี้ เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับ
เส้นผมนั่นแหละ.

1. คำว่า ลิกขา นี้ เป็นชื่อมาตราวัดระยะความยาว ในอภิธานัปปทีปิกา กล่าวดังนี้
36 ปรมาณู เท่ากับ 1 อณู
36 อณู " 1 ตัชชารี
36 ตัชชารี " 1 รถเรณู
36 รถเรณู " 1 ลิกขา
7 ลิกขา " 1 อูกา
7 อูกา " 1 ธัญญมาส
ฯลฯ